วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ชุมชนลับแล เมืองวิถีพุทธ ในอ้อมกอดของขุนเขา ตอนที่ 1 ประเพณี ค้างบูยา


 ท่ามกลางพายุฝนที่พัดมาในเดือน กันยายน  รถของเราวิ่งขึ้นสู่เส้นทางภาคเหนือของประเทศ    จุดหมายปลายทางของเรา อยู่ที่ จ. อุตรดิตถ์  เรามาที่นี่เพื่อมาดูประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนา  ซึ่งเชื่อว่าหลงเหลืออยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว  ประเพณีนี้มีชื่อว่า “ ค้างบูยา “
                เลยจาก จ. อุตรดิตถ์มาราวเกือบ 10 กม.  เราก็จะพบป้ายประตูทาง เข้า เมืองลับแล  เมืองที่ผู้คนอาจจะได้รับรู้จากนิยายปรัมปรามาแตกต่างมากมายหลายด้าน  แต่ภาพที่เราเห็นในความรู้สึกแรก  เมืองลับแลเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีผู้คนไม่มากนัก  และยังคงสภาพดั้งเดิมไว้อย่างดี  สภาพบ้านไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยยังพอมองเห็นได้ทั่วไป   
                เราผ่านออกมาจากนอกตัวเมืองลับแล  ไปทางถนนลาดยางสองเลนแคบๆ  ผ่านเนินเล็กๆ มากมาย  ไม่นานเราก็มาถึงยัง “ ม่อนลับแล “ 
                       เราได้พบกับหญิงสาวชาวลับแล  คุณกัญญาวีร์  ศิริกาญจนารักษ์    ผู้ซึ่งเป็นผู้นำหญิงแกร่ง ที่พลิกฟื้นรากวัฒนธรรมของชุมชนขึ้นมาใหม่  เราได้พูดคุยกับเธอในเบื้องต้น   เพื่อได้ทราบถึงประวัติบางส่วนของ ลับแล 
                   ชุมชนลับแล  เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 1000 ปี  ตั้งแต่ยุคอาณาจักร ล้านนา   แต่ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวของเมืองนี้มากนัก  อาจจะเป็นเพราะสภาพทางกายภาพที่ห้อมล้อมไปด้วยภูเขา  ทำให้อาจจะไม่ค่อยมีผู้คนแวะเวียนเข้ามามากนักในอดีต  แต่ก็ทำให้เกิดข้อดีคือ  ที่นี่จะมีความคงอยู่ของวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ค่อนข้างมาก   ผู้คนที่นี่เป็นการผสมผสานของหลากหลายเชื้อชาติ  พวกเขา  การแต่งกาย  วัฒนธรรม และมีภาษาพูดและเขียนของตัวเอง  และเพิ่งจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเป็นบทเรียนในกับอนุชนรุ่นถัดมา  ในไม่กี่ปีนี้เอง 
               กลับมาคุยเรื่อง  ประเพณีบุญ  ค้างบูยา  ( ค้างหมายถึง กิ่ง ก้าน ต้นไม้  บูยา คือ มวนยา )  เป็นพิธีกรรมการทำบุญให้กับบรรพบุรุษ  โดยจะจัดให้มีพิธี ค้างบูยา ในทุกวันพระ ตลอดเดือนของการเข้าพรรษา  ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละวัดในละแวกบ้าน   ชาวบ้านในแต่ละหมู่  จะจัดเตรียม ค้างบูยา ของตน   ในคืนก่อนวันมีพิธี  1 คืน  คืนนี้เราจึงมาดูการทำ ค้างบูยา ของชาวบ้านกันค่ะ
                   ค้างบูยา  เดิมอาจใช้เป็นกิ่งไม้  แล้วนำเอาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ชาวบ้านบริจาคมา  มาห้อยแขวน คล้ายๆ ต้นกฐิน ทางภาคกลาง  แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง  เป็นการทำค้างบูยา สูง  มีก้านไม้สำหรับจับถือด้านล่าง  วางผลไม้ต่างๆ  ประดับด้วยมวนยา  บางครั้งก็ใช้หลอดกาแฟตัดขนาดเท่ามวนยาทดแทน  ประดับประดาด้วยของใช้ต่างๆ  และมีใบเป็นธนบัตร  ที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค  จัดประดับอย่างสวยงาม


                  ชาวบ้านมาร่วมกันทำ และบริจาคเพื่อประดับตกแต่ง ค้างบูยา  โดยความศรัทธา  ในวันนี้ เรามาดูการทำค้างบูยา กันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ผู้ใหญ่สวัสดิ์  ถายา
 

            ชะลอมเล็กๆ เขามีไว้ทำอะไรกันน่ะ   ฉันคิดในใจ  แล้วคุณป้าก็อธิบายว่าเขาใส่อะไรลงไปในชะลอมบ้างค่ะ   มีทั้งขนม ข้าว น้ำ ข้าวเหนียว กับข้าว เกลือ น้ำ  หมากพลู  และผลไม้ต่างๆ  ประดับด้วยดอกไม้ ธูปปักบนชะลอมค่ะ
              พอตอนเช้าประมาณ 3 โมงเช้า ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่บ้านผู้ใหญ่  ต่างคนก็จะชะลอมของตัวเอง ใส่กระจาด ไม้คาน มาหาบเป็นขบวนเข้าวัดโดยพร้อมเพรียงกันค่ะ
ในขบวนก็จะมีกลองยาวนำหน้าขบวน  มีคนมาร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกสนาน  แล้วก็ ค้างบูยา  ขบวนหาบกระจาด 

                             พอถึงวัด ก็จะมีการทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว การฟังเทศน์ สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล

วันที่เราไปบันทึกภาพ  เราไป 2 วัดด้วยกัน คือ วัดดอยมูล และวัดปทุมคงคา  ซึ่งที่วัดปทุมคงคา  จะมีวัดที่มาร่วมกันในปีนี้ 13 วัด  ค้างบูยา ก็จะถูกถวายวัดต่างๆ โดยการจับฉลากว่าจะได้ของหมู่บ้านไหน  หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในแต่ละวัด

ชุมชนลับแล ได้มีการจัดประเพณี ค้างบูยา เป็นประจำทุกปีตามปฎิทินทางจันทรคติ   สำหรับในปีนี้ ตรงกับวันต่างๆ ดังนี้ค่ะ
  ขึ้น  8 ค่ำเดือน 9           วันที่ 25 สิงหาคม
ขึ้น  15 ค่ำเดือน 9          วันที่ 1 กันยายน
แรม    8 ค่ำเดือน 9           วันที่ 9  กันยายน
แรม  15  ค่ำเดือน 9          วันที่ 15 กันยายน
ขึ้น  8   ค่ำเดือน 10          วันที่ 23 กันยายน
ขึ้น  15 ค่ำเดือน 10         วันที่ 30 กันยายน
แรม    8 ค่ำเดือน 10          วันที่ 8 ตุลาคม
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะไปชมประเพณี "ค้างบูยา "  ที่คงเหลืออยู่เพียงชุมชนลับแล ที่เดียวในประเทศไทย  ไปเป็นหมู่คณะ ร่วมทำบุญประเพณี ค้างบูยา กับชาวบ้านลับแล  ติดต่อไปที่
คุณรัศ เสือน้อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  089-8398094

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

การประกวดธิดาชาวสวน 55 ชุด 3 รอบตัดสิน

การประกวดธิดาชาวสวน 55 ชุด 3 รอบตัดสิน 

DSC_0141.jpg (212.54 KB)
DSC_0141.jpg
DSC_0143.jpg (143.62 KB)
DSC_0143.jpg
DSC_0146.jpg (213.47 KB)
DSC_0146.jpg
DSC_0150.jpg (151.31 KB)
DSC_0150.jpg
DSC_0155.jpg (153.11 KB)
DSC_0155.jpg
DSC_0157.jpg (79.15 KB)
DSC_0157.jpg
DSC_0161.jpg (196.99 KB)
DSC_0161.jpg
DSC_0170.jpg (187.39 KB)
DSC_0170.jpg
DSC_0183.jpg (227.91 KB)
DSC_0183.jpg
DSC_0184.jpg (244.64 KB)
DSC_0184.jpg
DSC_0185.jpg (218.83 KB)
DSC_0185.jpg
DSC_0186.jpg (109.99 KB)
DSC_0186.jpg
DSC_0187.jpg (103.93 KB)
DSC_0187.jpg
DSC_0189.jpg (248.03 KB)
DSC_0189.jpg
DSC_0191.jpg (205.09 KB)
DSC_0191.jpg
DSC_0192.jpg (233.49 KB)
DSC_0192.jpg
DSC_0193.jpg (250.59 KB)
DSC_0193.jpg
DSC_0194.jpg (246.62 KB)
DSC_0194.jpg
DSC_0197.jpg (227.98 KB)
DSC_0197.jpg
DSC_0200.jpg (246.02 KB)
DSC_0200.jpg
DSC_0203.jpg (240.9 KB)
DSC_0203.jpg
DSC_0207.jpg (211.66 KB)
DSC_0207.jpg
DSC_0215.jpg (236.51 KB)
DSC_0215.jpg
DSC_0222.jpg (119.49 KB)
DSC_0222.jpg
DSC_0230.jpg (246.96 KB)
DSC_0230.jpg
DSC_0235.jpg (217.25 KB)
DSC_0235.jpg
DSC_0237.jpg (189.41 KB)
DSC_0237.jpg
DSC_0239.jpg (184.74 KB)
DSC_0239.jpg
DSC_0269.jpg (93.75 KB)
DSC_0269.jpg
DSC_0270.jpg (85.22 KB)
DSC_0270.jpg
DSC_0271.jpg (83.44 KB)
DSC_0271.jpg
DSC_0273.jpg (84.8 KB)
DSC_0273.jpg
DSC_0275.jpg (96.22 KB)
DSC_0275.jpg
DSC_0277.jpg (91.51 KB)
DSC_0277.jpg