วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อาหารป้องกันโรคหวัด


กระเทียม


         อาหาร 5 ชนิดที่อาจให้ผลในการช่วยเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันหรือลดความรุนแรงของหวัด มีดังนี้

         1. อาหารรสเผ็ดรวมทั้งเครื่องเทศ เช่น กระเทียม พริก ลดอาการคัดจมูก ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น

         2. กระเทียม ช่วยลดอาการหวัด จะเติมลงในอาหารหรือเคี้ยวสดๆ วันละ 1-2 กลีบก็ได้

         3. ดื่มน้ำมากๆ แทนที่จะดื่มกาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาจดื่มน้ำผลไม้คั้นสดบ้างเพื่อเสริมวิตามินซี เครื่องดื่มร้อนที่ช่วยได้ เช่น ชา น้ำมะนาวอุ่นๆ จะช่วยลดเสมหะได้

         4. ซุปไก่ร้อนๆ ช่วยลดอาการคัดจมูก อาจเติมผักหลายๆ สี เพื่อเพิ่มสารแอนติออกซิแดนต์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี ซุปไก่ที่ผ่านกระบวนการตุ๋นเคี่ยวนานๆ จนโปรตีนย่อยสลายเป็นไดเปปไทด์ อาจช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสดชื่น และยังให้โปรตีนที่ดีต่อร่างกายด้วย

         5. สารต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน (วิตามินเอ) วิตามินซี วิตามินอี ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ ผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น แครอท ผักใบเขียวจัด ส้ม ฝรั่ง องุ่น แคนตาลูป มะละกอสุก เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ชุมชนลับแล เมืองวิถีพุทธ ในอ้อมกอดของขุนเขา ตอนที่ 1 ประเพณี ค้างบูยา


 ท่ามกลางพายุฝนที่พัดมาในเดือน กันยายน  รถของเราวิ่งขึ้นสู่เส้นทางภาคเหนือของประเทศ    จุดหมายปลายทางของเรา อยู่ที่ จ. อุตรดิตถ์  เรามาที่นี่เพื่อมาดูประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนา  ซึ่งเชื่อว่าหลงเหลืออยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว  ประเพณีนี้มีชื่อว่า “ ค้างบูยา “
                เลยจาก จ. อุตรดิตถ์มาราวเกือบ 10 กม.  เราก็จะพบป้ายประตูทาง เข้า เมืองลับแล  เมืองที่ผู้คนอาจจะได้รับรู้จากนิยายปรัมปรามาแตกต่างมากมายหลายด้าน  แต่ภาพที่เราเห็นในความรู้สึกแรก  เมืองลับแลเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีผู้คนไม่มากนัก  และยังคงสภาพดั้งเดิมไว้อย่างดี  สภาพบ้านไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยยังพอมองเห็นได้ทั่วไป   
                เราผ่านออกมาจากนอกตัวเมืองลับแล  ไปทางถนนลาดยางสองเลนแคบๆ  ผ่านเนินเล็กๆ มากมาย  ไม่นานเราก็มาถึงยัง “ ม่อนลับแล “ 
                       เราได้พบกับหญิงสาวชาวลับแล  คุณกัญญาวีร์  ศิริกาญจนารักษ์    ผู้ซึ่งเป็นผู้นำหญิงแกร่ง ที่พลิกฟื้นรากวัฒนธรรมของชุมชนขึ้นมาใหม่  เราได้พูดคุยกับเธอในเบื้องต้น   เพื่อได้ทราบถึงประวัติบางส่วนของ ลับแล 
                   ชุมชนลับแล  เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 1000 ปี  ตั้งแต่ยุคอาณาจักร ล้านนา   แต่ผู้คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวของเมืองนี้มากนัก  อาจจะเป็นเพราะสภาพทางกายภาพที่ห้อมล้อมไปด้วยภูเขา  ทำให้อาจจะไม่ค่อยมีผู้คนแวะเวียนเข้ามามากนักในอดีต  แต่ก็ทำให้เกิดข้อดีคือ  ที่นี่จะมีความคงอยู่ของวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ค่อนข้างมาก   ผู้คนที่นี่เป็นการผสมผสานของหลากหลายเชื้อชาติ  พวกเขา  การแต่งกาย  วัฒนธรรม และมีภาษาพูดและเขียนของตัวเอง  และเพิ่งจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเป็นบทเรียนในกับอนุชนรุ่นถัดมา  ในไม่กี่ปีนี้เอง 
               กลับมาคุยเรื่อง  ประเพณีบุญ  ค้างบูยา  ( ค้างหมายถึง กิ่ง ก้าน ต้นไม้  บูยา คือ มวนยา )  เป็นพิธีกรรมการทำบุญให้กับบรรพบุรุษ  โดยจะจัดให้มีพิธี ค้างบูยา ในทุกวันพระ ตลอดเดือนของการเข้าพรรษา  ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละวัดในละแวกบ้าน   ชาวบ้านในแต่ละหมู่  จะจัดเตรียม ค้างบูยา ของตน   ในคืนก่อนวันมีพิธี  1 คืน  คืนนี้เราจึงมาดูการทำ ค้างบูยา ของชาวบ้านกันค่ะ
                   ค้างบูยา  เดิมอาจใช้เป็นกิ่งไม้  แล้วนำเอาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ชาวบ้านบริจาคมา  มาห้อยแขวน คล้ายๆ ต้นกฐิน ทางภาคกลาง  แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง  เป็นการทำค้างบูยา สูง  มีก้านไม้สำหรับจับถือด้านล่าง  วางผลไม้ต่างๆ  ประดับด้วยมวนยา  บางครั้งก็ใช้หลอดกาแฟตัดขนาดเท่ามวนยาทดแทน  ประดับประดาด้วยของใช้ต่างๆ  และมีใบเป็นธนบัตร  ที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค  จัดประดับอย่างสวยงาม


                  ชาวบ้านมาร่วมกันทำ และบริจาคเพื่อประดับตกแต่ง ค้างบูยา  โดยความศรัทธา  ในวันนี้ เรามาดูการทำค้างบูยา กันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ผู้ใหญ่สวัสดิ์  ถายา
 

            ชะลอมเล็กๆ เขามีไว้ทำอะไรกันน่ะ   ฉันคิดในใจ  แล้วคุณป้าก็อธิบายว่าเขาใส่อะไรลงไปในชะลอมบ้างค่ะ   มีทั้งขนม ข้าว น้ำ ข้าวเหนียว กับข้าว เกลือ น้ำ  หมากพลู  และผลไม้ต่างๆ  ประดับด้วยดอกไม้ ธูปปักบนชะลอมค่ะ
              พอตอนเช้าประมาณ 3 โมงเช้า ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่บ้านผู้ใหญ่  ต่างคนก็จะชะลอมของตัวเอง ใส่กระจาด ไม้คาน มาหาบเป็นขบวนเข้าวัดโดยพร้อมเพรียงกันค่ะ
ในขบวนก็จะมีกลองยาวนำหน้าขบวน  มีคนมาร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกสนาน  แล้วก็ ค้างบูยา  ขบวนหาบกระจาด 

                             พอถึงวัด ก็จะมีการทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว การฟังเทศน์ สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล

วันที่เราไปบันทึกภาพ  เราไป 2 วัดด้วยกัน คือ วัดดอยมูล และวัดปทุมคงคา  ซึ่งที่วัดปทุมคงคา  จะมีวัดที่มาร่วมกันในปีนี้ 13 วัด  ค้างบูยา ก็จะถูกถวายวัดต่างๆ โดยการจับฉลากว่าจะได้ของหมู่บ้านไหน  หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในแต่ละวัด

ชุมชนลับแล ได้มีการจัดประเพณี ค้างบูยา เป็นประจำทุกปีตามปฎิทินทางจันทรคติ   สำหรับในปีนี้ ตรงกับวันต่างๆ ดังนี้ค่ะ
  ขึ้น  8 ค่ำเดือน 9           วันที่ 25 สิงหาคม
ขึ้น  15 ค่ำเดือน 9          วันที่ 1 กันยายน
แรม    8 ค่ำเดือน 9           วันที่ 9  กันยายน
แรม  15  ค่ำเดือน 9          วันที่ 15 กันยายน
ขึ้น  8   ค่ำเดือน 10          วันที่ 23 กันยายน
ขึ้น  15 ค่ำเดือน 10         วันที่ 30 กันยายน
แรม    8 ค่ำเดือน 10          วันที่ 8 ตุลาคม
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะไปชมประเพณี "ค้างบูยา "  ที่คงเหลืออยู่เพียงชุมชนลับแล ที่เดียวในประเทศไทย  ไปเป็นหมู่คณะ ร่วมทำบุญประเพณี ค้างบูยา กับชาวบ้านลับแล  ติดต่อไปที่
คุณรัศ เสือน้อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  089-8398094

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

การประกวดธิดาชาวสวน 55 ชุด 3 รอบตัดสิน

การประกวดธิดาชาวสวน 55 ชุด 3 รอบตัดสิน 

DSC_0141.jpg (212.54 KB)
DSC_0141.jpg
DSC_0143.jpg (143.62 KB)
DSC_0143.jpg
DSC_0146.jpg (213.47 KB)
DSC_0146.jpg
DSC_0150.jpg (151.31 KB)
DSC_0150.jpg
DSC_0155.jpg (153.11 KB)
DSC_0155.jpg
DSC_0157.jpg (79.15 KB)
DSC_0157.jpg
DSC_0161.jpg (196.99 KB)
DSC_0161.jpg
DSC_0170.jpg (187.39 KB)
DSC_0170.jpg
DSC_0183.jpg (227.91 KB)
DSC_0183.jpg
DSC_0184.jpg (244.64 KB)
DSC_0184.jpg
DSC_0185.jpg (218.83 KB)
DSC_0185.jpg
DSC_0186.jpg (109.99 KB)
DSC_0186.jpg
DSC_0187.jpg (103.93 KB)
DSC_0187.jpg
DSC_0189.jpg (248.03 KB)
DSC_0189.jpg
DSC_0191.jpg (205.09 KB)
DSC_0191.jpg
DSC_0192.jpg (233.49 KB)
DSC_0192.jpg
DSC_0193.jpg (250.59 KB)
DSC_0193.jpg
DSC_0194.jpg (246.62 KB)
DSC_0194.jpg
DSC_0197.jpg (227.98 KB)
DSC_0197.jpg
DSC_0200.jpg (246.02 KB)
DSC_0200.jpg
DSC_0203.jpg (240.9 KB)
DSC_0203.jpg
DSC_0207.jpg (211.66 KB)
DSC_0207.jpg
DSC_0215.jpg (236.51 KB)
DSC_0215.jpg
DSC_0222.jpg (119.49 KB)
DSC_0222.jpg
DSC_0230.jpg (246.96 KB)
DSC_0230.jpg
DSC_0235.jpg (217.25 KB)
DSC_0235.jpg
DSC_0237.jpg (189.41 KB)
DSC_0237.jpg
DSC_0239.jpg (184.74 KB)
DSC_0239.jpg
DSC_0269.jpg (93.75 KB)
DSC_0269.jpg
DSC_0270.jpg (85.22 KB)
DSC_0270.jpg
DSC_0271.jpg (83.44 KB)
DSC_0271.jpg
DSC_0273.jpg (84.8 KB)
DSC_0273.jpg
DSC_0275.jpg (96.22 KB)
DSC_0275.jpg
DSC_0277.jpg (91.51 KB)
DSC_0277.jpg